Scene 1
หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับคำว่าโรคสมาธิสั้นกันมาบ้าง โดยเฉพาะในบริบทของเด็กและวัยรุ่น เช่นคำว่า “เด็กสมาธิสั้น” เพราะโรคสมาธิสั้นนั้นจะแสดงอาการตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ซึ่งเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีความแตกต่างจากเด็กซนทั่วๆไป โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 อาการคือ
Scene 2
1. ขาดสมาธิ วอกแวก ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ หรือไม่ครบ ขี้ลืม
2. ซนอยู่ไม่นิ่ง หรือที่มักเรียกกันว่า Hyper คือจะต้องขยับตัวตลอดเวลา ชอบปีนป่าย แกล้งคนอื่น พูดมาก ซึ่งอาการในกลุ่มนี้มักจะลดลงได้เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น
และ 3.หุนหันพลันแล่น จะวู่วาม ใจร้อน อดทนรอคอยไม่ค่อยได้ ชอบพูดแทรกเวลาที่คุยกับคนอื่น
Scene 3
ซึ่งคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นอาจจะเป็นแค่บางกลุ่มอาการหรือเป็นทั้งหมดที่ว่ามานี้เลยก็ได้
หลายคนดูมาถึงตรงนี้อาจจะเริ่มสงสัยแล้วว่า จะรู้ได้ยังไงว่าเราหรือคนรอบตัวเราเป็นโรคสมาธิสั้นหรือเปล่า จริงแล้วๆ การวินิจฉัยโรคนั้นเป็นหน้าที่ของคุณหมอ ถ้าเกิดสงสัยก็ควรจะให้จิตแพทย์เป็นผู้วินิจฉัย และให้ความช่วยเหลือต่อไป เพราะว่าโรคสมาธิสั้นนั้น ยิ่งได้รับความช่วยเหลือเร็วเท่าไหร่ ก็ยิ่งส่งผลดีต่อที่ผู้เป็นมากขึ้นเท่านั้น
Scene 4
สาเหตุของโรคสมาธิสั้นนั้นปัจจุบันยังไม่แน่ชัด แต่เท่าที่มีการศึกษาพบว่า เป็นโรคที่เกี่ยวกับสารเคมีในสมอง ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากพันธุกรรมของพ่อแม่ และปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมเช่น แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ใช้ยาเสพติดระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด
ส่วนการดูทีวี การเล่นเกม หรือเล่นสมาร์ทโฟน ไม่ว่าจะในเด็ก วัยรุ่น หรือผู้ใหญ่นั้น จริงๆแล้วไม่ได้เป็นสาเหตุของโรคสมาธิสั้น แต่จะไปกระตุ้นให้มีอาการมากขึ้นในคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นอยู่แล้ว
Scene 5
สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นโรคสมาธิสั้น การทำกิจกรรมพวกนี้มากเกินไปก็อาจเสี่ยงต่อภาวะการขาดสมาธิ หรือที่เรียกว่า “สมาธิสั้นเทียม” ซึ่งมีอาการคล้ายโรคสมาธิสั้น แต่เกิดจากลักษณะของการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ได้เป็นที่สารเคมีในสมอง เมื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตก็จะหายได้เป็นปกติ
Scene 6
เรามักจะพบว่าเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นจะมีปัญหาเรื่องการเรียน แต่จริงๆแล้วไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นเด็ก IQ ไม่ดี แต่เป็นเพราะว่าเขาไม่มีสมาธิในการเรียนหนังสือ ในการทำงาน หรือทำการบ้าน จึงขาดโอกาสในการเรียนรู้อย่างเต็มที่
Scene 7
นอกจากนั้นยังอาจเกิดปัญหา ไม่สามารถเข้ากับเพื่อนๆได้ หากพ่อแม่หรือครูไม่เข้าใจเค้าและแสดงออกด้วยการดุด่า อาจกลายเป็นปัญหาบุคลิกเช่น ขาดความมั่นใจ ขาดความภาคภูมิใจและไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ไปจนถึงมีพฤติกรรมต่อต้านก้าวร้าว วิตกกังวล หรือซึมเศร้าหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างถูกต้อง
Scene 8
โรคสมาธิสั้นนั้นสามารถรักษาให้ดีขึ้นหรือหายเป็นปกติได้ แต่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องและใช้ระยะเวลา โดยอาศัยการกินยาร่วมกับการปรับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกัน ทั้งพ่อแม่ คุณครู และตัวเด็กเองด้วย ไม่ว่าจะเป็น การจัดสภาพแวดล้อมในการเรียนให้เหมาะสม-ไม่มีสิ่งรบกวน ชมเชยเมื่อเค้าทำตัวดี มีวิธีเบี่ยงเบนหรือเรียกความสนใจของเด็กกลับมา หลีกเลี่ยงการดุด่าหรือการตำหนิ จัดตารางเวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ลดการดูทีวีเล่นอินเตอร์เน็ต พาไปเล่นกีฬา ทำงานบ้านหรือทำกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กได้ออกแรง
Scene 9
ปัจจุบันการเป็นโรคสมาธิสั้น หรือมีลูกเป็นโรคสมาธิสั้นไม่ใช่เรื่องแปลก มีคนที่เป็นโรคสมาธิสั้นมากมายที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียง ไม่ว่าจะเป็น Adam Levine, Michael Phelps, Justin Timberlake, Emma Watson หรือแม้กระทั่ง Bill Gates ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งยืนยันที่ดีว่า คนเป็นโรคสมาธิสั้นก็สามารถทำสิ่งต่างๆได้ดีเช่นเดียวกัน